ฟ้าทะลายโจร
ชื่อสามัญ
ชื่อพฤกษศาสตร์
Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees
ชื่ออื่น
ฟ้าทะลายโจร, น้ำลายพังพอน (กรุงเทพฯ), ฟ้าสาง (พนัสนิคม), หญ้ากันงู (สงขลา), สามสิบดี(ร้อยเอ็ด), เขยตายยายคลุม (โพธาราม), ฟ้าสะท้าน (พัทลุง), เมฆทะลาย (ยะลา), คีปังฮี, ชวงชิมน้อย, เจ็กเกี้ยงฮี่, โข่งเช่า, ชี้บังกี่ (จีน)
วงศ์
ACANTHACEAE
ลักษณะของพืช
ไม้ล้มลุก สูง 30-70 ซม. มีรสขม กิ่งเป็นใบสี่เหลี่ยม ใบเลี้ยงเดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยก 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่ ปากล่างมี 2 กลีบ ผล เป็นฝัก เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล แตกได้ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
วิธีปลูก
การบำรุงรักษา
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เมล็ดที่ดีต้องได้จากฝักแก่จัด เมล็ดต้องมีสีน้ำตาลแดงมีลักษณะสมบูรณ์ ชอบดินร่วนซุยและอากาศร้อนชื้น
หรืออาจใช้กิ่งปักชำก็ได้ ควรปลูกในที่มีไม้ใหญ่ช่วยบังแดดให้บ้าง เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุได้ 3-4 เดือน
การใช้ประโยชน์
ใบใช้แก้ไข้ทั่วๆไป (เหมาะสำหรับหวัดร้อน คือมีอาการเหงื่อออก ไอ เจ็บคอ กระหายน้ำ ท้องผูก ปัสสาวะมีสีเข้ม) ใช้ขับเสมหะ มีรสขม ช่วยในการเจริญอาหาร
ข้อมูลเพิ่มเติม
* ไม่เหมาะกับผู้มีอาการหวัดเย็น ( อุ้งมืออุ้งเท้าเย็น ปัสสาวะมาก รู้สึกหนาวสะท้าน ไม่มีเหงื่อออก)
*เนื่องจากเป็นยาเย็น จึงไม่ควรทานติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้มีอาการ มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย แขนขาไม่มีแรง
* อาการแพ้คือ มีอาการปวดท้อง ท้องเสีย ปวดเอว เวียนศีรษะ ให้หยุดรับประทาน หรือลดขนาดลง
อ้างอิง