2Candles.com :: กระทู้ เทียนสองเล่ม

ชื่อผู้ใช้:
รหัสผ่าน:

 
      อบเชย (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum verum)
 

อบเชย

ชื่อสามัญ

อบเชย

 

ชื่อพฤกษศาสตร์

Cinnamomum verum

 

ชื่ออื่น

 

อบเชยในวงศ์ LAURACEAE มี 5 ชนิดใหญ่ๆ คือ

   1. อบเชยศรีลังกา (Cinnamomum zeylanicum) คนไทยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "อบเชยเทศ" มีราคาแพงที่สุด

 

   2. อบเชยอินโดนีเซีย หรืออบเชยชวา (Cinnamomum burmanii Blume) ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน

 

   3. อบเชยญวน (Cinnamomum loureirii Nees) มีรสหวานแต่ไม่ค่อยหอม ปลูกได้ดีมากในประเทศไทย และประเทศไทยเราส่งออกอบเชยชนิดนี้

 

   4. อบเชยจีน (Cinnamomum cassia Nees ex. Blume) มีเปลือกหนาและเนื้อหยาบ

 

   5. อบเชยไทย (Cinnamomum bejolghota) หรืออบเชยต้น (C. iners Rein w. ex. Blume) หรือสุรามะริด พบในป่าเขาที่ยังอุดมสมบูรณ์ในประเทศ แต่ยังไม่ใช้นำมาปลูกเพื่อผลิตเปลือกอบเชย อบเชยไทยมีมากกว่า 16 สายพันธุ์ เปลือกอบเชยไทยจะหนากว่าอบเชยชนิดอื่น

 

วงศ์

LAURACEAE

 

ลักษณะของพืช

ไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง  15-20  เมตร  ไม่ผลัดใบ  เปลือกเรียบสีเทาแก่หรือเทาปนน้ำตาล เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด  ชอบดินที่มีความชุ่มชื้นปานกลางถึง มาก

 

วิธีปลูก

การบำรุงรักษา

อบเชยเป็นพันธุ์ไม้ที่ขึ้นทำไปในป่าดงดินชื้นทั่วไป  มักพบใกล้แหล่งน้ำ

 

อบเชยญวนและอบเชยชวา ปลูกได้ดีในประเทศไทย หากเป็นการปลูกจากเมล็ด ใช้เวลา 3 ปี ก็จะสามารถลอกเปลือกเพื่อเป็นสินค้าได้

 

การใช้ประโยชน์

ในประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้เปลือกเป็นเครื่องเทศ เครื่องหอม และทำยาตำรับแผนโบราณเช่น ใช้ในการแก้จุกเสียด แน่นท้อง หรือใช้ในการทำยานัตถุ์ใช้สูดดม เพื่อเพิ่มความสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย แก้โรคท้องร่วงเพราะมีส่วนช่วยต้านแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ ช่วยในการย่อยอาหาร และสลายไขมัน

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

 

อ้างอิง

 


 
      กลับหน้าหลัก - 2Candles.com