ชื่อสามัญ |
เปล้าน้อย |
ชื่อพฤกษศาสตร์ |
Croton stellatopilosus Ohba
|
ชื่ออื่น |
เปล้าท่าโพ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)
|
วงศ์ |
EUPHORBIACEAE
|
ลักษณะของพืช |
ไม้พุ่มยืนต้น สูง 1-4 เมตร เป็นไม้ผลัดใบ ใบเรียงเดี่ยววางเรียงสลับ ลักษณะใบเป็นรูปใบหอกกลับ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 10-15 ซม. โคนใบสอบแคบ กลางใบกว้าง แล้วเรียวแหลมลงไปที่ปลายใบ ขอบใบจักเล็กๆ ไม่สม่ำเสมอ ผิวใบมีขนสีสนิมและจะหายไปเมื่อใบแก่จัดออกดอกที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกสีนวล ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู
|
วิธีปลูก
การบำรุงรักษา |
การขยายพันธุ์ ควรได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือรากไหลจะได้พันธุ์แท้ การเพาะจากเมล็ดมีการกลายพันธุ์ได้
|
การใช้ประโยชน์ |
* ใบ - ใช้บำรุงธาตุ บำรุงโลหิตประจำเดือน มีสารที่มีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี
* ใบ ราก – มีการใช้เกี่ยวกับอาการทางผิวหนัง
* ดอก - ขับพยาธิ
|
ข้อมูลเพิ่มเติม |
ในประเทศไทยพบได้ในหลายพื้นที่ เช่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี นครพนม กาญจนบุรี
การเก็บใบเปล้าน้อยเพื่อสกัดตัวยาเปลาโนทอล เริ่มทำได้เมื่อต้นเปล้าน้อยมีอายุอย่างน้อย 2 ปี
|
อ้างอิง |
|