เตยหอม
ชื่อสามัญ
ชื่อพฤกษศาสตร์
Pandunus odorus Ridi
ชื่ออื่น
ภาคกลาง : เตยหอมใหญ่ (Toei-hom-yai) เตยหอมเล็ก (Toei-hom-lek) มลายู : ปาแนะวองิง (Pa-nae-wo-nging) ทางภาคเหนือเรียกว่าหวานข้าวไหม้ ภาคใต้เรียกว่าป่าแมะอาริง ฟังลั้ง
วงศ์
PANDANACEAE
ลักษณะของพืช
เป็นไม้น้ำ ต้นเล็กใบยาวแยกออกจากโคนต้น
ใบจะออกจากลำต้นเรียงเวียนแน่นรอบลำต้น ใบมีสีเขียวเกลี้ยง รูปเรียวยาวคล้ายหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ไม่มีหนาม มีกลิ่นหอมเย็น ไม่มีดอก มีรากอากาศ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อเล็กๆ นำมาปลูก
วิธีปลูก /การบำรุงรักษา
ใช้หน่อทีเจริญเต็มที่จากต้นเดิมในการขยายพันธุ์ หรือชักชำกิ่ง ขึ้นได้ดีในพื้นที่ชื้นแฉะ หากพื้นที่มีน้ำขังจะแตกกอสวย
การใช้ประโยชน์
ใบใช้ในการประกอบอาหารต่างๆ
รากและต้นในยาแผนโบราณนำมาใช้ในเรื่องช่วยแก้กษัยพิการ ปัสสาวะไม่ปกติ เบาหวาน บำรุงหัวใจ
ข้อมูลเพิ่มเติม
ในกรุงเทพพบมากแถวปากคลองตลาด
อ้างอิง