|
ตำลึง (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucurbitaceae) |
|
ตำลึง
ชื่อสามัญ |
ตำลึง |
ชื่อพฤกษศาสตร์ |
Cucurbitaceae |
ชื่ออื่น |
ตำลึง (กลาง, นครราขสีมา), ผักแคบ (เหนือ), ผักตำนิน (อีสาน) |
วงศ์ |
CUCURBITACEAE |
ลักษณะของพืช |
เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีมือจับ ชอบพันไม้อื่นหรือขึ้นตามรั้ว พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศไทย ใบ เป็นใบเดี่ยวสลับกันไปตามเถา ฐานใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักแบบฟันเลื้อยตื้นๆ หยักเว้า 3-5 แฉก ออกดอกสีขาว ผลคล้ายแตงกวาแต่มีขนาดเล็กกว่ามากผลอ่อนมีสีเขียว พอสุกกลายเป็นสีแดงจัด คนไทยมักเปรียบเปรยคนขวยอายจนหน้าแดงว่า “หน้าแดงเป็นลูกตำลึง”
|
วิธีปลูก /การบำรุงรักษา |
ขยายพันธุ์โดยเมล็ด หรือนำเถาแก้ปักชำ ชอบดินร่วนซุย |
การใช้ประโยชน์ |
ใบและยอดอ่อนใช้ประกอบอาหารได้หลากหลาย มีเอ็มไซน์ช่วยย่อยแป้งได้ อีกทั้งมีสรรพคุณแก้ไข้ตัวร้อน ดอกตำลึงช่วยทำให้หายจากอาการคันได้ น้ำยางจากต้นและใบช่วยลดน้ำตาลในเลือด สูตรโบราณนำใบและเถามาตำเพื่อพอกให้หน้าเต่งตึง
|
ข้อมูลเพิ่มเติม |
|
อ้างอิง |
ขอบคุณภาพสวยๆจากเวป คลังปัญญาไทย | |
|
|
|