ชื่อสามัญ |
กระเจี๊ยบเขียว
|
ชื่อพฤกษศาสตร์ |
Abelmoschus esculentus Linn. |
ชื่ออื่น |
ภาคกลาง : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทะวาย มะเขือมอญ , ภาคเหนือ : มะเขือพม่า มะเขือขื่น มะเขือมอญ มะเขือละโว้
แถบจังหวัดสมุทรสาคร, สมุทรปราการ : กระต้าด
|
วงศ์ |
MALVACEAE |
ลักษณะของพืช |
พืชยืนต้น อายุประมาณ 1 ปี ลำต้นมีขนหยาบและมีความสูงประมาณ 1-2 เมตรลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว คล้ายฝ่ามือ ปลายแหลมเหมือนหอกเรียงสลับกัน และมีขนหยาบ กลีบดอกมีสีเหลือง ที่โคนกลีบด้านในมีสีม่วงออกแดง ออกตามซอกใบ ฝักดู คล้ายนิ้วมือผู้หญิงมีขนอ่อนๆสีขาวอยู่ทั่วฝัก มีสันเป็นเหลี่ยมตามยาว 5 เหลี่ยม ฝักกระเจี๊ยบมีทรงยาวสีเขียว ฝักอ่อนมีรสชาติหวาน กรอบอร่อย มีสารเมือกพวกเพ็กตินสูง
|
วิธีปลูก /การบำรุงรักษา |
ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ปลูกได้ในดินทุกชนิด เติบโตดีในเขตกึ่งร้อน ไม่ชอบน้ำแฉะขัง |
การใช้ประโยชน์ |
ผักใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง มีคุณสมบัติในการช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะในฝักกระเจี๊ยบนั้นมีสารเมือกพวกเพ็กติน (Pectin) และกัม (Gum) ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยในการระบายและสามรถแก้พยาธิตัวจี๊ดได้ |
ข้อมูลเพิ่มเติม |
|
อ้างอิง |
ขอบคุณภาพสวยๆจากบ้านสวนพอเพียง |