ชื่อสามัญ |
กระเจี๊ยบแดง
|
ชื่อพฤกษศาสตร์ |
Hibiscus sabdariffa L.
|
ชื่ออื่น |
ภาคเหนือเรียก ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง , จังหวัดตากเรียก ส้มตะแลงเครง ภาคกลางเรียก กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ทั่วไปเรียก กระเจี๊ยบแดง, ส้มปู (เงี้ยว – แม่ฮ่องสอน)
|
วงศ์ |
MALVACEAE
|
ลักษณะของพืช |
ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ขอบใบเรียบ แยกเป็น 3 แฉกปลายแหลมเหมือนหอก มีขน สีของดอกสีชมพูอ่อนสวย ตรงกลางดอกมีสีเข้มมากกว่าขอบนอกของกลีบ กลีบดอกร่วงโรยไป กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงก็จะเจริญเติบโตเกิดผลรูปไข่ป้อมเป็นสีม่วงแดงเข้มหุ้มเมล็ดเอาไว้ภายใน มีจงอยสั้นๆ
|
วิธีปลูก
การบำรุงรักษา |
ขยายพันธุด้วยเมล็ด กระเจี๊ยบแดงเป็นพืชไวแสง ชอบอากาศร้อน ทนต่อความแห้งแล้ง ไม่ชอบน้ำขัง เติบโตได้ในดินทุกชนิด เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลังปลูกไปแล้วประมาณ 4-6 เดือน
|
การใช้ประโยชน์ |
มีการนำมาแปรรูปเป็นอาหารเครื่องดื่มหลายชนิด เช่น ชา แยม ไวน์กระเจี๊ยบแดงมีสรรพคุณเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ สายตา ช่วยย่อยไขมันลดกาจับตัวในเส้นเลือด ช่วยระบาย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ
|
ข้อมูลเพิ่มเติม |
กระเจี๊ยบแดงต้มคู่กับพุทราจีนใช้น้ำดื่ม เป็นตำรับยาโบราณอย่างนึง
|
อ้างอิง |
|