ชื่อสามัญ |
ขี้เหล็ก |
ชื่อพฤกษศาสตร์ |
Cassia siamea (Lamk.) Irwin et Barneby
|
ชื่ออื่น |
ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลางบางที่) ผักจี้ลี้ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มาเลย์-ปัตตานี) และขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้)
|
วงศ์ |
FABACEAE (LEGUMINOSAE)
|
ลักษณะของพืช |
ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลาง สูงประมาณ 8-15 เมตร
ลำต้นมักคดงอเป็นปุ่ม ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆ ดอกมีสีเหลืองออกอยู่ตามปลายกิ่ง ผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อน เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ
|
วิธีปลูก
การบำรุงรักษา |
ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้า เลี้ยงง่าย โตเร็ว สามารถขึ้นได้บนดินแทบทุกสภาพ ออกดอกเมื่ออายุ 3 ปีขึ้นไป
|
การใช้ประโยชน์ |
ดอกและใบขี้เหล็กใช้เป็นอาหาร ในตำราการแพทย์แผนไทยมีการบันทึกประโยชน์ของขี้เหล็กในหลายด้าน เช่น ทำให้ผมชุ่มชื่นเป็นเงางาม ไม่มีรังแค ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี และบำรุงโลหิต ช่วยให้หลับสบาย มีกากใยสูงช่วยเรื่องระบบขับถ่าย
|
ข้อมูลเพิ่มเติม |
ผู้เฒ่าทางอีสานพูดต่อกันว่า "เหล็กแดงแทงหาด" ซึ่งหมายถึง
แก่นขี้เหล็ก แก่นแดง แก่นหนามแท่ง แก่นมะหาด ควรกินเป็นประจำจะทำให้ร่างกายแข็งแรง แก้ปวดเมื่อย
|
อ้างอิง |
ขอบคุณรูปภาพสวยๆจาก “คลังปัญญาไทย” |